ข้อกำหนดรูปแบบป้ายทางออกทางหนีภัย มาตราฐาน วสท.-ISO-มอก. และ มยผ.

ข้อกำหนดรูปแบบป้ายทางออกทางหนีภัยจากสองหน่วยงานมาตราฐาน 

มีหลายชื่อเรียกเช่น Exit Sign, Exit Light, ป้ายทางออก, ป้ายไฟ, ป้ายทางหนีภัย 

 

1.       โดยวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) กับ สมอ(มอก.) และ ISO ตาม EIT 2004-54 ซึ่งอ้างอิงจากหน่วยงานมาตรฐานต่าง ๆ กำหนดให้ความโตของรูปและตัวอักษร (Font) ต้องไม่น้อยกว่า 10 ซม.

 

 

 

 

1.รูปแบบและขนาดป้ายตาม วสท.2004-54

 

2.       โดย กรมโยธาธิการและผังเมือง (มยผ.) ตาม มยผ. 8301 เป็นอีกหนึ่งหน่วยงานที่ได้กำหนด มาตรฐาน การออกแบบเส้นทางหนีไฟเพื่อความปลอดภัยสำหรับอาคารต่าง ๆไว้อย่างครบถ้วน รวมถึงกำหนดขนาดป้ายทางออกทางหนีภัยและขนาดรูปแบบป้าย ตัวอักษร (Font) โตไม่น้องกว่า 15 ซม.

 

 

 

2.รูปแบบและขนาดป้ายตาม มยผ.

 

รูปแบบป้าย Exit จะต้องมีขนาดและระยะการติดตั้ง และรูปแบบตามข้อกำหนดของหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีการติดตั้งใช้งานกันอยู่นั้น กลุ่มผู้ตรวจสอบอาคารอาจเลือกใช้ข้อกำหนดจากหน่วยงานใดก็ได้ ตามที่ท่านเห็นชอบ ซึ่งข้อกำหนด และมาตรฐานความปลอดภัยของทั้งสองหน่วยงานก็จะมีรายละเอียดระบุ รูปแบบป้าย-ขนาด-ระยะ-การติดตั้ง เอาไว้เพื่ออ้างอิงในการเลือกใช้และติดตั้งให้เป็นไปตามข้อกำหนดความปลอดภัย และความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ ซึ่งบางท่านที่ติดตั้งใช้งานไปแล้วอาจจะไม่ตรงกับมาตราฐานที่ผู้ตรวจสอบเลือกใช้ ดังนั้นผู้ดูแลอาคาร จะต้องเข้าใจรายละเอียด ในการเลือกติดตั้งใช้งานด้วยเพื่อให้สอดคล้องตามข้อกำหนด

สำหรับผู้เขียนเองมีความเห็นว่า สินค้าที่ขายในตลาดบ้านเราต้องได้มาตรฐาน มอก. จึงสามารถวางขายได้อย่างถูกกฎหมาย และสอดคล้องกับมาตรฐาน วสท. และ ISO ซึ่งป้ายจะมีความโตน้อยสุด (Font) 10 ซม. ซึ่งเป็นขนาดที่เล็กกะทัดรัด พอเหมาะกับพื้นที่เช่นบนประตูในห้อง และทางเดินต่าง ๆ ไม่ทำให้บดบังสายตาและความสวยงาม ในส่วนป้ายขนาดใหญ่ 15 และ 20 ซม. ก็มีใช้งาน แพร่หลายเช่นกัน มักติดตั้งใช้งานตามอาคารโรงงาน ห้องโถง พื้นที่กว้าง และใหญ่มากขึ้น จึงมองว่าข้อกำหนดรูปแบบป้ายขนาดใดก็ได้ ขอให้มีขนาดความโต และติดตั้งตามระยะกำหนด มีการดูแลอย่างถูกต้องเหมาะสม ก็สามรถใช้งานได้อย่างถูกต้องเหมาะสมเช่นกัน

 

ข้อสรุปรูปแบบการติดตั้งป้าย Exit Light หรือ ป้ายทางหนีภัย และการตรวจสอบ (วสท. 2004-54)

1.       ติดตั้งตามทางเดิน/ทางหนีไฟ เพื่อให้อพยพไปยังประตูทางออกที่ใกล้ที่สุด

2.       การติดตั้งเหนือประตู หรือตามทางเดิน ความสูง 2-2.7 ม.

3.       ป้ายสัญลักษณ์ขนาด 10 ซม. ต้องติดตั้งภายในระยะ 24 ม., ขนาด 15 ซม. ติดตั้งภายในระยะสายตา 36 ม.และขนาด 20 ซม. ติดตั้งระยะห่างได้ 48 ม.

4.       แหล่งจ่ายไฟต้องมาจากแหล่งไฟฟ้าปกติ แยกวงจรจากระบบอื่นเพื่อสามารถทดสอบได้สะดวก และมีแบตเตอรี่สำรองไฟ

5.       เมื่อไฟฟ้าดับต้องให้ความส่างติดต่อกันไม่ต่ำกว่า 90 นาที สำหรับอาคารขนาดใหญ่ อาคารสูงตามที่กฎหมายกำหนด ต้องไม่น้อยกว่า 120 นาที

6.       การตรวจสอบป้ายจะต้องมีการจดบันทึกระบุผลการตรวจ ผู้ตรวจและวันที่ไว้ สามารถดูและตรวจสอบได้

7.       การตรวจสอบการทำงานต้องทำการตรวจสอบทุกระยะ 3 เดือน ทดสอบให้สำรองไฟนาน 30 นาที และทุก 1 ปี ต้องสำรองไฟนาน 60 นาที และประจุแบตเตอรี่ตามปกติจนเต็มและพร้อมใช้งาน 

   เอกสารอ้างอิงมาตรฐาน วสท. 2004-54, มอก 1102-2538 และ 1955-2551, มยผ. 8301

โดย Winwin Team 20/05/60